สันปันน้ำมีความหมายว่าอย่างไร

สันปันน้ำ หมายถึง เส้นแบ่งหรือสันเขา ยอดเขาหรือทางแคบๆ บนพื้นที่สูงที่เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างบริเวณลุ่มน้ำ 2 แห่ง ซึงอยู่ติดกัน หรือที่แบ่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติให้ไหลไปในทิศทางตรงกันข้าม สันปันน้ำเป็นลักษณะภูมิประเทศที่นิยมนำมาใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ

สมรรถภาพ และ สมรรถนะ แตกต่างกันอย่างไร

สมรรถภาพ ให้ความหมายว่า ความสามารถ เช่น เขาเป็นคนมีสมรรถภาพในการทำงานสูง สมควรได้เลื่อนตำแหน่ง สำหรับคำว่า สมรรถนะ ให้ความหมายว่า ความสามารถ (ใช้แก่เครื่องยนต์) เช่น รถยนต์แบบนี้มีสมรรถนะดีเยี่ยมเหมาะสำหรับเดินทางไกล

องค์กร และ องค์การ มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

คำว่า องค์กร และ องค์การ มีความหมายแตกต่างกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2552 เก็บคำว่า องค์กร โดยให้ความหมายว่า น. บุคคล และคณะบุคคล หรือสถาบัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น

ปริทัศน์ และ ปริทรรศน์ มีความหมายเหมือนกันหรือไม่

ปริทัศน์ เป็นคำนาม หมายถึง การวิจารณ์หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าวหรือเรื่องราวต่างๆ
ปริทรรศน์ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่างๆ ซึ่งมีที่กำบังกั้นหรือใช้มองดูสิ่งต่างๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มอง เช่น กล้องเรือดำน้ำ, กล้องตาเรือ เป็นต้น

จินตนาการและจินตภาพ มีความหมายและอ่านว่าอย่างไร

จินตนาการ อ่านว่า จิน-ตะ-นา-กาน  เป็นคำนาม หมายถึง การสร้างภาพขึ้นในใจ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า imagination
จินตภาพ อ่านว่า จิน-ตะ-พาบ เป็นคำนาม หมายถึง ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า image

คำเป็น คำตาย

  • การจำแนกคำเป็น คำตาย พิจารณาจากประเภทของสระและมาตราตัวสะกด
  • ลักษณะของคำเป็นและคำตาย


    ประเภทสระ(คำที่ไม่มีตัวสะกด)มาตราตัวสะกด(คำที่มีตัวสะกด)
    คำ
    เป็น
    1. ประสมด้วยสระเสียงยาว
      -า , -ี , -ู , เ- , แ-
      ตัวอย่าง กา ปี มือ ปู เข
    2. ประสมด้วยสระเสียงสั้น
      เฉพาะ -ำ , ไ- , ใ-, เ-า
      ตัวอย่าง กำ ไข ใคร 
    มีตัวสะกดอยู่ในมาตรา
    • แม่กง เช่น คง ชง จง
    • แม่กน เช่น ขน คน จน
    • แม่กม เช่น กลม คม งม
    • แม่เกย เช่น เกย เขย
    • แม่เกอว เช่น กาว ขาว
    คำ
    ตาย
    ประสมด้วยสระเสียงสั้น
    เช่น -ะ, -ิ , -ึ , -ุ , เ-ะ , แ-ะ
    ตัวอย่างเช่น จะ ติ ฮึ ยุ เตะ
    มีตัวสะกดอยู่ในมาตรา
    • แม่กก เช่น ครก งก ฉก
    • แม่กด เช่น ขด คด งด
    • แม่กบ เช่น ขบ คบ งบ

พยัญชนะต้น ตัวสะกด ตัวการันต์

พยัญชนะต้น เป็นอักษรที่เขียนร่วมกับสระและวรรณยุกต์ เช่น
  • แม่ มีพยัญชนะต้น ม

การประสมพยางค์และคำ

พยางค์และคำจะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ อย่างน้อย 3 ส่วน คือ
  • พยัญชนะต้น + สระ + วรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า การประสม 3 ส่วน
  • พยัญชนะต้น + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด ซึ่งเรียกว่า การประสม 4 ส่วน
  • พยัญชนะต้น + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการัตน์ ซึ่งเรียกว่า การประสม 4 ส่วนพิเศษ
  • พยัญชนะต้น + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ ซึ่งเรียกว่า การประสม 5 ส่วน

โครงสร้างของพยางค์และคำ

พยางค์และคำจะประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญต่างๆ ดังนี้
  • พยัญชนะ ซึ่งแบ่งทำหน้าที่ 3 ลักษณะ คือ พยัญชนะต้น ตัวสะกด และตัวการันต์

พยางค์และคำ หมายถึง

พยางค์และคำ คืออะไร
  • พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้

ภาษาไทย

การเรียนรู้ในหลักภาษาไทย แม้ไม่ใ่ช่เรื่องยาก แต่ก็มีนักเรียนจำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักภาษาไทย การเรียนอย่างเป็นระบบและการฝึกฝนตามลำดับขั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะ และความชำนาญ มีพื้นฐานที่ดี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการศึกษาต่อไปได้

วรรณยุกต์ไทย เลขไทย

  • วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง ดังนี้

สระในภาษาไทย

  • สระในภาษาไทยมี 21 รูป 32 เสียง

พยัญชนะไทย 44 ตัว

  • พยัญชนะไทยมี 44 ตัว ได้แก่

ประเภทสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษาไทย

ประเภทสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษาไทยมีหลายประเภท ดังนี้
ภาษาไทย